วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555



หินซุยเซอิ  ตอนที่ 4/20 - การสะสม


การจัดประเภทซุยเซอิตามรูปทรง


หินซุยเซอิสามารถจัดแบ่งประเภทตามรูปทรงออกได้เป็น 2 ประเภทได้แก่ ประเภทที่มีรูปทรงเหมือนทัศนียภาพของภูมิทัศน์  และประเภทที่มีรูปทรงคล้ายสิ่งที่มีชีวิตหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น  โดยมีรายละเอียดของแต่ละประเภทดังนี้:


ประเภทที่ 1 เป็นหินที่มีรูปทรงเหมือนทัศนียภาพของภูมิทัศน์  (Sansui keijo-seki)  

หินประเภทนี้จะสื่อถึงภาพของภูมิทัศน์ธรรมชาติซึ่งเราสามารถเห็นได้ทั่วไปในธรรมชาติ  โดยแบ่งย่อยออกได้ดังนี้:
  • Yamagata-ishi หินรูปทรงเหมือนภูเขา อาจเป็นภูเขาเพียงลูกเดียวหรือหลายๆลูกก็ได้  โดยปรกติจะแบ่งย่อยออกเป็นหินที่สื่อถึงภูเขาที่เห็นในระยะใกล้กับหินที่สื่อถึงภูเขาที่เห็นในระยะไกล  แต่ก็อาจจะระบุชื่อโดยใช้จำนวนของยอดเขาก็ได้ดังนี้:


    • Toyama-ishi/Enzan-seki  หินที่สื่อถึงภูเขาที่เห็นในระยะไกล


    • Kinzan-seki  หินที่สื่อให้เห็นถึงภูเขาในระยะใกล้ 




    • นอกจาก Toyama-ishi และ Kinzan-seki แล้ว ยังอาจระบุรายละเอียดของหินได้ตามลักษณะจำนวนของยอดเขาดังนี้:
Ø      Koho-seki  เป็นเทือกเขาที่มียอดเพียงยอดเดียว
Ø      Soho-seki  เป็นหินที่แสดงภาพของภูเขาที่มีสองยอด 
Ø      Sampo-seki  เป็นหินที่แสดงภาพของภูเขาที่มีสามยอด
Ø      Seigaku-seki
Ø      Rempo-seki  หินที่แสดงภาพของสันเขาเป็นแนวยาวไม่เป็นยอด
Ø      Sekkei-ishi   หินที่สื่อถึงภูเขาที่ปกคลุมด้วยหิมะ  โดยมีแร่ธาตุสีอ่อนๆแทนหิมะบริเวณยอดหรือด้านข้าง  


  • Taki-ishi   หินนี้เป็นหินที่สื่อถึงภูเขาที่มีน้ำตกอาจจะหนึ่งแห่งหรือมากกว่านั้น  โดยน้ำตกจะแทนด้วยสายแร่ธาตุสีขาวใกล้บริเวณยอดของหินและไหลย้อยตกลงมาด้านล่างด้านหน้า  ถ้าหินมีน้ำตกปรากฏขึ้นทั้งสองด้านของหินจะไม่ถือว่าเป็นลักษณะที่ดีของหินประเภทนี้  หินประเภทนี้แบ่งออกย่อยได้ดังนี้:
    • Itodaki-ishi   หินที่แสดงภาพของภูเขาที่มีน้ำตกๆลงมาเป็นเส้น  โดยจะเห็นจากเส้นเล็กๆของผลึกคว๊อทไหลตกลงมาด้านล่าง 


    • Nudodaki-ishi  หินที่แสดงภาพของภูเขาที่มีน้ำตกไหลตกลงมาเป็นแถบ  โดยจะเห็นจากสีจางๆของแร่ธาตุที่ไหลตกลงมาด้านล่างด้านหน้าของหิน





    • Karedaki-ishi  หินที่สื่อถึงภูเขาที่มีน้ำตกแต่น้ำตกนั้นได้เหือดแห้งไปแล้ว  โดยจะเห็นจากแนวร่องลึกลงไปในเนื้อหินไหลตกลงมาด้านล่าง


    • Yamagata-taki-ishi  หินที่สื่อถึงภูเขาที่มีน้ำตกอาจจะมีน้ำตกเพียงสายเดียวหรือหลายสายปรากฏด้านหน้าของหิน  จะเห็นว่ามีการใช้คำว่าภูเขา”(yamagata) และ น้ำตก” (taki) มาต่อกันเป็นชื่อที่ใช้เรียกหินประเภทนี้



    • Keiryu-seki  หินที่สื่อถึงเทือกเขาที่มีลำธาร  ลำธารจะไหลผ่านหุบเขา  โดยปรกติสายน้ำจะแทนด้วยผลึกคว๊อทสีขาวซึ่งเปรียบเสมือนฟองที่สาดกระเซ็นของน้ำในลำธาร  รูปแบบที่ดีลำธารควรไหลเป็นเส้นทแยงมุมคาดผ่านหิน  แทนที่จะไหลจากด้านหน้าไปด้านหลัง  




  • Dan-seki/Dan-ishi  หินที่สื่อถึงที่ราบเชิงเขาหรือหินเป็นขั้นๆขึ้นไปบนหน้าผา  หินคลาสสิกจะมีอย่างน้อยสามขั้นความยาวที่ต่างๆกัน  ขึ้นที่เกิดขึ้นควรตั้งดิ่งหรือเกือบจะตั้งดิ่ง  


·         Shimagata-ishi  หินที่สื่อถึงเกาะ  เป็นลักษณะของเกาะที่โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ, มีความสูงไม่มาก, แสดงให้เห็นถึงส่วนโค้งเว้าของตามแนวที่สัมผัสกับน้ำ ปรกติจะจัดไว้ในถาดบางพร้อมทรายหรือน้ำ  ซึ่งทรายหรือน้ำนี้จะช่วยสื่อให้เห็นถึงเกาะได้ดีขึ้น  



  • Doha-seki/Doha-ishi  หินที่สื่อถึงพื้นเอียงลาด  เป็นลักษณะของพื้นที่ราบหรือค่อยๆเอียงพุ่งไปยังเนินเขา  

  • Isogata-ishi  หินที่แสดงภาพของโขดหินตามชายฝั่งทะเล  ปรกติจะไม่หนามาก แบ่งออกย่อยได้ 2 ประเภท:
    • Araiso/Araiso-ishi  หินสื่อถึงแนวหินโสโครก  ที่ขรุขระ  

    • Hirasu/Hirasu-ishi  หินที่แสดงถึงสันดอนทราย  สื่อถึงชายหายอันสงบเงียบ  


  • Misaki-ishi  หินที่สื่อถึงแหลม  แผ่นดินที่ยื่นเข้าไปในผืนน้ำ

  • Mizutamari-ishi   หินที่สื่อถึงสระน้ำหรือแอ่งน้ำที่อยู่ตามเทือกเขา  หินที่มีรูพรุนที่เก็บน้ำไว้ไม่ได้จะไม่มีค่าเท่ากับหินที่สามารถเก็บน้ำไว้ได้  หินประเภทนี้ที่ถือว่ามีค่าและหายากจะเป็นหินที่สื่อให้เห็นถึงสระน้ำหรือแอ่งน้ำที่ล้อมรอบด้วยภูเขาที่มีลักษณะที่สวยงดงาม  




  • Tamari-ishi  หินที่สื่อให้เห็นถึงสระน้ำหรือทะเลสาบ  หินประเภทนี้จะคล้ายกันกับหินสระน้ำแต่จะสื่อให้เห็นถึงสระน้ำหรือทะเลสาบที่ลึกกว่า  



  • Mitzutame-ishi   เป็นหินที่แสดงให้เห็นแอ่งเก็บน้ำตื้นๆ  คล้ายกับ    แต่จะตื้นกว่ามาก  



  • Iwagata-ishi  หินที่สื่อถึงหน้าผาสูงชันริมชายฝั่งทะเล  หินประเภทนี้จะเพิ่มค่ามากยิ่งขึ้นหากมีแร่คว๊อทที่ฐาน  แร่คว๊อทสีขาวเปรียบได้กับฟองของคลื่นที่ซัดเข้ากระทบหน้าผา





  • Dokutsu-ishi  หินที่สื่อถึงภาพของถ้ำ  ลักษณะเป็นโพรงลึกเข้าไปจะมองไม่เห็นก้นของถ้ำ  ลักษณะที่ดีโพรงนั้นจะต้องเป็นโพรงลึกหักโค้งจากซ้ายไปขวา  
  • Yadori-ishi  หินที่สื่อถึงเพิงที่กำบังโค้งยื่นออกมาไม่มากนัก  และพื้นด้านบนของเพิงกำบังสามารถเห็นได้เด่นชัด




  • Amayadori-ishi  หินที่สื่อถึงเพิงกำบังคล้ายกับ Yadori-ishi แตกต่างกันก็ตรงที่ Amayadori-ishi นั้นสื่อถึงเพิงกำบังที่ยื่นออกมายาวมากพอที่สามารถกันฝนได้


  • Domon-ishi  หินที่สื่อถึงถ้ำหรือโค้งธรรมชาติ  หินจะมีรูอาจจะรูเดียวหรือหลายรูที่ทะลุผ่านจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง  และจะถือว่าสวยงามหากรูนั้นหักเหไปด้านซ้ายหรือขวาแทนที่จะพุ่งไปตรงๆ  





ประเภทที่ 2 เป็นหินที่มีรูปทรงเหมือนสิ่งที่มีชีวิตหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น (Keisho-seki)
  • Yagata-ishi  หินที่สื่อให้เห็นถึงบ้านพักอาศัยตามชนบทแบบต่างๆของญี่ปุ่น
    • Kuzuya-ishi  หินที่มีรูปทรงคล้ายกระท่อมหลังคามุงจาก  สื่อถึงภาพของกระท่อมในชนบทของญี่ปุ่นที่มีหลังคารูปทรงกลมหรือแหลมเป็นกรวย  จะมีค่ามากยิ่งขึ้นหากหินนั้นเหมือนมีเสาขึ้นมาค้ำยันหลังคาไว้  




  • Funagata-ishi  หินที่สื่อถึงภาพของเรือชนิดต่างๆ เรือที่สร้างด้วยไม้, เรือพาย ฯ 




  • Hashi-ishi  หินที่สื่อถึงภาพของสะพานไม่ว่าจะเป็นสะพานที่สร้างด้วยหินหรือไม้  

  • Dobutsu-seki  หินที่สื่อถึงภาพของสัตว์      


  • Torigata-ishi  หินที่มีรูปร่างคล้ายนก  สื่อถึงภาพของนกทั้งนกจริงในธรรมชาติและนกในเทพนิยาย 
  • Mushigata-ishi  หินที่มีรูปร่างคล้ายแมลง  สื่อถึงภาพของแมลงโดยเฉพาะผีเสื้อ, แมลงปอ, จิ้งหรีด, ตั๊กแตน ฯ
  • Uogata-ishi  หินที่มีรูปร่างคล้ายปลา  สื่อให้เห็นภาพของปลาโดยเฉพาะปลาคราฟและปลาทอง 

  • Sugata-ishi/Jimbutsu-seki  หินที่มีรูปทรงคล้ายมนุษย์  สื่อถึงภาพของคนโดยเฉพาะชาวประมง, ชาวนา, หญิงสาว, พระ ฯ  รวมถึงหินที่สื่อถึงส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายคนเรา  


  • Sankeishi-seki  หินที่มีรูปทรงคล้ายวัตถุหรือสิ่งมีชีวิตได้สามอย่าง  โดยสามารถสื่อถึงภาพของวัตถุหรือสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันได้สามอย่างเมื่อมองในมุมที่แตกต่างกัน  




Subscribe to RSS Feed Follow me on Twitter!