วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วัฒนธรรมการเก็บสะสมหินของชาวจีนเพื่อใช้ในพิธีทางศาสนาหรือเพื่อความสวยงามมีมาช้านานแล้ว  สามารถย้อนกลับไปได้ตั้งแต่ราชวงศ์ฮั่น  (206 ก่อนคริสศักราช-คศ 220) เมื่อจักรพรรดิพระองค์หนึ่งทรงดำริให้นำหินมาเพื่อใช้ตกแต่งสวนภายในพระราชวัง  มีหลักฐานของศิลปะการใช้หินประดับสวนและศิลปะหินอิสระปรากฏอยู่ในโครงกลอนโบราณย้อนกลับไปได้ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง (คศ.618-907)  ชาวจีนจะเรียกหินอิสระขนาดเล็กนี้ว่า กองชิ (Gongshi) แต่ชาวตะวันตกจะเรียกว่า Scholars' Rocks  ซึ่งหมายถึงหินของนักปราชญ์เนื่องจากหินนี้เป็นที่นิยมในหมู่ของผู้มีความรู้ชาวจีนในสมัยโบราณตั้งแต่ราชวงศ์ซ่ง (คศ.960-1270)  พัฒนาเรื่อยมาจากความนิยมหินตกแต่งสวนขนาดใหญ่มาจนถึงการนิยมหินขนาดเล็กพอที่จะนำเข้ามาประดับไว้ภายในอาคารได้ 


กองชิ(Gongshi) หรือ Scholar Rocks เริ่มจากหินที่คล้ายหรือสื่อถึงภูเขาในนิยายหรือภูเขาที่มีชื่อเสียง  หรือแม้แต่จะสื่อถึงแนวเทือกเขาในประเทศจีน  หินบางก้อนมีรูปแบบที่สวยงามมีสีที่แปลกตาหรือสื่อให้เกิดจินตนาการกับผู้ดู   กองชิพัฒนามาจากหินตกแต่งสวนซึ่งจะมีขนาดใหญ่มากอาจสูงได้ถึง  5 หรือ 6 ฟุต   กวีและพระในลัทธิเต๋าชาวจีนต้องการนำภูเขาเหล่านี้เข้ามาภายในที่พำนักเพื่อใช้ในการทำสมาธิและเพื่อกระตุ้นให้เกิดจินตนาการในการเขียนบทกลอนหรือเขียนภาพ   ดังนั้นหินก้อนเล็กๆที่มีรูปทรงคล้ายเทือกเขาจึงถูกนำมาสะสมและมอบให้แก่กันเหมือนของขวัญที่มีค่า  หินเหล่านี้เป็นที่นิยมของกวีและนักสะสมชาวจีนมากว่า 1,000 ปี


Gongshi เป็นชื่อที่เรียกหินที่มีลักษณะที่จะกระตุ้นให้ผู้ดูเกิดจินตนาการ  คำว่า gong หมายถึง วิญญาณ  และคำว่า shi หมายถึง หิน  ถึงแม้ว่าความหมายตรงตัวของหินพวกนี้จะเป็น 'Spirit Stones'  แต่ชาวตะวันตกนิยมเรียกหินนี้ว่า  'Scholar's Rocks' มากกว่า  ชาวจีนมีการจัดแบ่งหินในแบบฉบับของตนเองด้วยเหมือนกัน  โดยเฉพาะแบ่งตามถิ่นกำเนิดหรือตามคุณภาพของหิน  การจัดหินในสวนมีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นและมักจะแทนสรวงสวรรค์ที่เรียกว่า Penglai หรือเกาะแห่งความเป็นอมตะทิศตะวันออก  สวรรค์เหล่านี้ประกอบไปด้วยภูเขาสามลูกหรือมากกว่านั้นอยู่ในทะเลตะวันออกอันไกลโพ้น   เทือกเขาสูงชันที่อยู่ห่างไกลและไม่มีใครเข้าถึงได้   ในภาพเขียนจีนเทพเจ้าเหล่านี้มักจะแปลงร่างเป็นนกกระเรียนบินไปมาระหว่างภูเขาสูงเหล่านี้    เกาะทั้งสามมีชื่อว่า  Fanghu, Yingzhou, และ Penglai  แต่มักจะเรียกรวมกันว่า Penglai  เป็นดินแดนแห่งเวทมนต์ซึ่งเทพเจ้าประทับอยู่  ที่นี่ทุกสิ่งทุกอย่างน่าอัศจรรย์และเป็นที่ๆมนุษย์ไปไม่ถึง   สวรรค์เหล่านี้มีอยู่ในลัทธิเต๋า  เป็นยอดเขาที่ลอยอยู่ท่ามกลางหมู่เมฆหรือเป็นถ้ำที่ซับซ้อนที่เทพเจ้าประทับอยู่    สวนที่กล่าวมานี้ออกแบบและสร้างโดยจักรพรรดิ์วูได ในราชวงศ์ฮั่น ( 140-87 B.C.) ซึ่งประกอบไปด้วยสระน้ำใหญ่มีเกาะสี่เกาะ - Penglai, Fangzhand, Yingzhou, และ Huliang – โผล่ขึ้นมาตรงกลางสระน้ำ   จักรพรรดิองค์ต่อๆมาก็มีการสร้างสวนเช่นเดียวกันนี้อีกหลายสวน   ปัจจุบันหินถูกจัดเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มเพื่อแทนแนวเขา  หินก้อนเดี่ยวๆที่ใช้จะมีคุณภาพสูงหรือแทนภูเขาที่เด่นในสวน  หินที่ใช้จะมีสีขาวหรือสีเทา และอาจสูงถึง 20 ฟุตเลยทีเดียว    นักสะสมจำนวนมากนิยมสะสมหินคุณภาพจากทะเลสาบ Jiangsu จังหวัด Taihu.  หินขนาดใหญ่เหล่านี้จะมีรู, ผิวที่ขรุขระและมีรูปทรงแปลกๆและหินเหล่านี้บางส่วนก็ยังคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้  


กองชิลักษณะคล้ายหญิงชาวจีนมีผมสีน้ำตาลที่ผู้เชี่ยวชาญประเมิณมูลค่าหินก้อนนี้
อยู่ที่ 12 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 96 ล้านหยวน

การจัดวางหินในรูปแบบของจีนมักจะจัดวางในแนวตั้งเนื่องจากนิยมสื่อถึงภูเขาในนิยายหรือภูเขาที่มีชื่อเสียงของจีน  รูป   แบบ taihu หรือ lingbi ไม่จำเป็นต้องมีฐานเรียบเนื่องจากหินเหล่านี้จะถูกจัดวางไว้บนแท่นที่ลึกกว่าแท่นของซุยเซอิ  โดยแท่นจะออกแบบให้สามารถวางหินไว้ในแนวตั้งได้โดยไม่ล้ม  หินของจีนในรูปแบบที่เป็นอุดมคติแล้วจะมีสามมิติ; มีรอยเว้าโค้งและรูทุกด้าน  หากด้านใดด้านหนึ่งเรียบและไม่มีรูหินนั้นจะถือว่าเป็นหินสองมิติ  แต่มันก็ยังคงมีคุณค่าและราคาอยู่แต่จะไมมีคุณค่าเท่ากับหินที่ดูมีสมดุลและสวยงามในทุกมุมมอง

กองชิขนาดจะเล็กกว่าหินที่ใช้ประดับสวนและจะถูกคัดอย่างพิถีพิถันเพื่อให้ได้หินที่มีคุณภาพ  หินจะมีขนาดเล็กตั้งแต่หนึ่งนิ้วถึงห้าหกฟุต  อย่างไรก็ตามขนาดปรกติจะเป็นขนาดที่สามารถจัดวางบนโต๊ะได้    หินบางส่วนถูกดัดแปลงไปเป็นของใช้เช่น ที่วางแปรง, กรรไกร หรือตราประทับ  แต่ส่วนใหญ่ยังคงใช้เพื่องานสร้างสรรค์ทางศิลปะ  กองชิปรกติจะถูกจัดวางไว้บนโต๊ะ  หรือชั้นสำหรับจัดวาง    หินจะถูกวางไว้บนแท่นไม้ที่ทำอย่างประณีต  และแท่นไม้เองก็เป็นงานศิลปะเช่นกัน 
ถึงแม้ว่าศิลปะของกองชิจะมีในประเทศจีนมากว่า 1,000 ปีแล้วก็ตาม  แต่เพิ่งจะแพร่หลายมาสู่โลกภายนอกในเวลา 20 กว่าปีมานี้นี่เอง 
ถึงแม้ว่าจะนิยมหินสีดำที่สุดก็ตาม แต่ความนิยมสีอื่นก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  ระหว่างช่วงราชวงศ์หมิงและชิง (1368-1911) หินสีสดใสเป็นที่นิยมอย่างมาก เช่น หินอ่อน, มรกต, หินควอทสีเหลือง ฯ  สำหรับศิลปินชาวจีนแล้วหินเหล่านี้เป็นหลายสิ่งหลายอย่าง  หินเหล่านี้ใช้เป็นจุดเพ่งในการทำสมาธิหรือคิดค้นหลักปรัชญาและใช้กระตุ้นจินตนาการในการเขียนโคลงกลอนหรือวาดภาพ  ถึงแม้ว่าหินส่วนใหญ่จะสื่อถึงเทือกเขาต่างๆและสิ่งที่เกิดขึ้นในธรรมชาติรอบตัวเรา    หินหลายก้อนสื่อถึงคน, สัตว์และสัตว์ในนวนิยาย   สิ่งสำคัญที่สุดของกองชิก็คือรูปทรง, รู, รูพรุน, อายุ และสมดุลของหินจะต้องถูกทำโดยแรงจากธรรมชาติเท่านั้น  อย่างไรก็ตามมีความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าหินเหล่านี้จำนวนมากที่ถูกเสริมแต่งทำขึ้นมาจากฝีมือมนุษย์  หินจำนวนมากถูกเจาะ, เจียรและขัดเพื่อเพิ่มความงามให้แก่หินเหล่านั้น   แต่งานของช่างฝีมือเหล่านี้ก็ยังไม่เป็นที่นิยมของนักสะสมเท่ากับหินที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ  

   



วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ซุยเซอิ(Suiseki)
ซุยเซอิ(Suiseki)เป็นรูปแบบศิลปะแขนงหนึ่งที่มีในประเทศญี่ปุ่นนานหลายร้อยปี  ศิลปะแขนงนี้ได้พัฒนามาจากกองชิ (Gongshi)ศิลปะการชื่นชมความงามหินของจีนเป็นศิลปะที่คู่กันมากับศิลปะบอนไซ  คำว่าซุยเซอิ(Suiseki)ในภาษาญี่ปุ่นหมายถึง หินที่อยู่ในน้ำ  ชื่อนี้ได้มาจากการที่ในสมัยโบราณหินจะถูกจัดไว้ในถาดน้ำ  เป็นเวลานับร้อยปี




มาแล้วที่ชาวญี่ปุ่นเก็บหินจากแม่น้ำมาถูขัดเกลาด้วยกระแสน้ำ  มาเพื่อจัดวางแสดงคู่กันกับบอนไซ  ปัจจุบันความนิยมซุยเซอิในโลกตะวันตกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  และมีชื่อเรียกเป็นของตนเองว่า "viewing stone"(หินทิวทัศน์)   อย่างไรตามทั้งสองก็ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว  เนื่องจากหินบางประเภทก็ไม่มีในญี่ปุ่นแต่ก็เป็นที่นิยมของนักสะสมทั่วโลกและศิลปะซุยเซอิของญี่ปุ่นนั้นจะละเอียดและตายตัวมากกว่า  แต่ซุยเซอิของญี่ปุ่นก็ยังคงเป็นบรรทัดฐานสากลในการจำแนกประเภทหินที่ใช้กันทั่วโลก  ในการเรียนรู้, สะสม และชื่นชมหินเฉกเช่นศิลปะประเภทอื่นๆ  เราต้องเข้าใจองค์ประกอบของซุยเซอิที่ดีและความแตกต่างของรูปทรงต่างๆอย่างชัดเจน 
สำหรับคนทั่วไปแล้วซุยเซอิ(Suiseki)ไม่ใช่อะไรนอกจากหินก้อนหนึ่งเท่านั้น  แต่สำหรับผู้ที่ชื่นชอบและเข้าใจศาสตร์นี้แล้วซุยเซอิจะเป็นมากกว่าแค่หินก้อนหนึ่ง  เราไม่สามารถคาดหวังความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับทุกคนได้  ความรู้สึกถึงสัมผัสของการเคลื่อนไหวจากหินและสามารถปล่อยให้วิญญาณล่องลอยอยู่ในโลกของซุยเซอิได้  อย่างไรก็ตามความสนใจซุยเซอิจะเกิดขึ้นกับเราได้หากมีบางสิ่งบางอย่างในซุยเซอิดึงดูดเมื่อเราเห็นมัน    นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่เพียงพอสำหรับการเริ่มพัฒนาความเข้าใจในซุยเซอิ  ความเข้าใจซุยเซอิเกี่ยวข้องกับการพัฒนาจิตวิญญาณของแต่ละคนอีกด้วย   




ซุยเซอิไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้ด้วยฝีมือของมนุษย์  ต้องเป็นหินที่มีรูปทรงเกิดขึ้นเองจากธรรมชาติ  เพราะฉนั้นหินที่มีคุณภาพดีๆจึงมีจำนวนอยู่อย่างจำกัดในโลกของเราใบนี้  ในญี่ปุ่นทุกวันนี้ยากที่จะหาหินคุณภาพดีๆได้สักก้อนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะเหตุนี้จึงทำให้ซุยเซอิของญี่ปุ่นมีราคาสูงมาก  แต่ในประเทศอื่นๆยังมีหินคุณภาพดีๆอีกจำนวนมากที่ยังไม่ถูกค้นพบ    

ซุยเซอิ  ศิลปะของการชื่นชมหินที่เกิดขึ้นในธรรมชาตินี้มีกำเนิดในประเทศจีนมาราว 1,000 ถึง 2,000 ปี  และแพร่หลายไปสู่ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีมากว่า 400 ปี   แต่ในโลกตะวันตกมีโอกาสได้ชื่นชมศิลปะในรูปแบบนี้มาในระยะเวลาไม่ถึง
100 ปีมานี้เอง  ปัจจุบันผู้สนใจศิลปะแขนงนี้ทั่วโลกได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว  ศิลปะการสะสมหินมีรูปแบบและชื่อต่างๆกันออกไป:



Scholar Rocks หรือ Gongshi 
Scholar Rocks เป็นชื่อที่ชาวตะวันตกใช้เรียกศิลปะกองชิ(Gongshi)ของจีน   การที่ชาวจีนชื่นชมหินก็เนื่องมาจากความรักในธรรมชาติประกอบกับเชื่อตามหลักทางศาสนาและปรัชญา   สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของชาวจีนในการสร้างสรรค์งานศิลปะไม่ว่าจะเป็นภาพเขียนหรืองานแกะสลัก เนิ่นนานมาแล้วที่ชาวจีนเรียนรู้ที่จะสร้างสวนที่สามารถสื่อได้ถึงธรรมชาติที่พวกเขารัก  สวนดังกล่าวรวมถึงการใช้ต้นไม้ขนาดเล็กและหินขนาดใหญ่เพื่อแทนเทือกเขาลำเนาไพร 




ซุยเซอิ (Suiseki
ซูอิเซกิ(Suiseki)   ภาษาญี่ปุ่นหมายถึง หินที่อยู่ในน้ำ  ชื่อนี้ได้มาจากที่เดิมหินนี้จะถูกจัดไว้ในถาดน้ำ  เป็นเวลานับร้อยปีมาแล้วที่ชาวญี่ปุ่นเก็บหินจากแม่น้ำมาเพื่อจัดวางแสดงคู่กันกับบอนไซเพื่อเป็นฉากหลังเหมือนภูเขา  ประเพณีในการชื่นชมความงามของหินขนาดเล็กจากจีนเป็นที่นิยมของชาวญี่ปุ่นมาช้านาน  กลายมาเป็นวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นได้ชื่นชมหินขนาดเล็กที่มาจากจีน  หินจากจีนที่ส่งมายังญี่ปุ่นในระยะแรกทีเดียวจะเป็นหินที่มีรูปทรง abstract และมีรูบนหิน  มันถูกจัดวางไว้ในถาดเซรามิคหรือถาดทองเหลืองที่ใส่กรวดเอาไว้  ชาวญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่ยกย่องและเทิดทูลธรรมชาติมาแต่ดึกดำบรรพ์แล้วจึงไม่แปลกที่ความนิยมชมชอบในศิลปะซุยเซอิจะยังคงแพร่หลายในญี่ปุ่นจนถึงทุกวันนี้  ญี่ปุ่นได้พัฒนากฏเกณฑ์รูปแบบของซุยเซอิขึ้นมาอย่างมากมายจนเป็นแม่แบบสำหรับกฏเกณฑ์ของหินทั่วโลก



Suseokของเกาหลี
เกาหลีก็เช่นเดียวกันกับญี่ปุ่นที่ได้รับวัฒนธรรมศิลปะการชื่นชมความงามของหินจากธรรมชาติจากประเทศจีนมายาวนาน  ความเชื่อและเคารพในธรรมชาติก็คงอยู่ในจิตใจของชาวเกาหลีเช่นเดียวกับชาวจีนและชาวญี่ปุ่นศิลปะนี้ของเกาหลีจึงยังคงสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้    
Viewing Stones ของชาวตะวันตก
Viewing Stones(หินทิวทัศน์) ของชาวตะวันตก  ศิลปะด้านนี้ยังคงดูแปลกใหม่สำหรับโลกตะวันตกอยู่   แต่นับวันความนิยมก็ยิ่งเพิ่มขั้น 


Subscribe to RSS Feed Follow me on Twitter!