วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

หินทิวทัศน์(Viewing Stone)ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในโลกตะวันตกผ่านทางนิทรรศการ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอเมริกาผู้ที่ทำให้ความนิยมศิลปะด้านนี้ก็คือจอน นากะและ ยิจิ โยชิมูระ  ทั้งสองท่านได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับซุยเซอิเป็นภาษาอังกฤษ  ซึ่งมีผลอย่างมากต่อความนิยมซุยเซอิในอเมริกา   ปัจจุบันความนิยมได้ขยายไปสู่หินในรูปแบบของจีน  เคมินฮูได้เขียนหนังสือชื่อว่า “The Spirit of Gongshi “   ซึ่งในหนังสือได้เผยแพร่หินเก่าแก่ทั่วทั้งโลกรวมถึงหินในประเทศจีนด้วย 
ทั้งซุยเซอิของญี่ปุ่นและกองชิของจีน มีรูปแบบที่แตกต่างกันตามแนวคิดและวัฒนธรรมของตน  หินทิวทัศน์ (Viewing Stone)  เป็นศิลปะที่ใช้พื้นฐานจากซุยเซอิแล้วพัฒนาขึ้นโดยนักสะสมชาวตะวันตก  เนื่องจากหินทิวทัศน์หลายชนิดที่พบได้ในหลายประเทศทั่วโลกไม่สามารถพบได้ในประเทศญี่ปุ่นและไม่สามารถเทียบเคียงได้กับการจัดแบ่งกลุ่มของซุยเซอิ  เช่นหินทะเลทรายซึ่งพบในแถบตะวันตกเฉียงใต้ของอเมริการวมถึงในทะเลทรายทั่วโลก ในการจัดแบ่งของซุยเซอิไม่มีหินประเภทนี้อยู่เลย  และหินจำนวนมากก็ไม่ตรงตามข้อกำหนดของซุยเซอิเลยแต่หินเหล่านี้ยังคงมีมนต์เสน่เหมือนซุยเซอิ  สิ่งเหล่านี้ทำให้ศิลปะของหินทิวทัศน์แตกต่างไปจากรากเหง้าของซุยเซอิ   ไม่ว่าเราจะใช้ชื่ออย่างไร  หินทิวทัศน์หรือซุยเซอิ  สิ่งหนึ่งที่หินเหล่านั้นต้องมีก็คือหินนั้นต้องสามารถสื่อบางสิ่งบางอย่างถึงผู้ชมได้   
หินทิวทัศน์ของทางตะวันตกจะแบ่งโดยใช้พื้นฐานตามระบบของ โคเวลโลโยชิมูรา  โดยจัดแบ่งตาม รูปร่าง, สี, รูปแบบของผิว และถิ่นกำเนิด  ซึ่งไม่มีข้อกำหนดตายตัวว่าหินอะไรจึงจะเป็นหินทิวทัศน์หรือหินอะไรจะไม่ใช่   มีการแบ่งชนิดของหินทิวทัศน์ออกไปเป็นชนิดใหม่ๆเช่นหินที่เก็บจากทะเลทรายเรียกว่า หินทะเลทราย  แต่บางคนยังคงนิยมที่จะจัดกลุ่มชนิดตามการแบ่งแบบเดิมของซุยเซอิ 
ศิลปะการชื่นชมหินของเกาหลีเริ่มประมาณ 100 ปีก่อนศริสศตวรรษ - 1300 AD, เมื่อหินเหล่านี้ถูกส่งมาจากจีนพร้อมลัทธิเต๋าเป็นครั้งแรก  รูปแบบที่นิยมในสมัยนั้นจะเป็นหินตั้งขึ้นมีรูพรุนและร่องบนผิวหน้า  ความนิยมหินนี้มีต่อเนื่องมาระหว่างช่วง คศ.1300-1950.
เหมือนประเทศญี่ปุ่น  วัฒนธรรมเกาหลีมีการเปลี่ยนแปลงระหว่างช่วงนี้ทำให้นักสะสมเริ่มมองหาหินที่ดูนุ่มนวล  การสะสม Suseok เริ่มเพิ่มมากขึ้นหลังสงครามเกาหลี (1950-1953) แต่ปัจจุบันมีปิดพื้นที่ที่นักสะสมสามารถหาหินไปเป็นจำนวนมากทำให้จำนวนของนักสะสมลดลง 
ไม่เหมือนซุยเซอิของญี่ปุ่นที่บางครั้งจะตัดหรือดัดแปลง  หินสะสมของเกาหลีไม่ยอมให้มีการดัดแปลงแก้ไขอย่างซุยเซอิ  นักสะสมชาวเกาหลีนิยมที่จะรักษาสภาพเดิมๆของหินตามธรรมชาติ  แทนที่จะตัดฐานให้เรียบเพื่อสามารถจัดวางในถาดหรือแท่นไม้บางๆได้หินของเกาหลีกลับจัดวางในถาดหรือแท่นไม้ลึกๆทำให้บางส่วนของหินถูกปิดบังโดยขอบของถาดหรือแท่นไม้   แท่นจะออกแบบให้เข้ากันกับหินได้อย่างดีทำให้ Suseok  ของเกาหลีสวยงามและแตกต่างจากศิลปะการชื่นชมหินของประเทศอื่นอย่างชัดเจน   
ถิ่นกำเนิดหิน Suseok ของเกาหลีที่มีชื่อเสียงในหมู่นักสะสมชาวเกาหลีมีดังต่อไปนี้:  
- Kyunghokaang. แม่น้ำสายนี้มาจากลำธารเล็กๆที่พัดพาเอาหินมาจากภูเขา Zirisan ซึ่งมีชื่อเสียงในเรื่องความงดงามของ suseok.
- Namhankaang.  
แม่น้ำ Namhan เป็นสถานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเกาหลี  หินที่นี่มีทุกรูปทรง  มีเนื้อพื้นผิวที่สวยงาม หินที่พบมากจะเป็นลักษณะเป็นรอยบุ๋ม, รอยย่น, อุโมงค์, โค้งหรือยอดเขา
-
ชายหาด  เกาหลีมีชายหาดหลายแห่งที่สามารถหา suseok ได้  ชายฝั่งทางตอนตะวันออกเฉียงใต้ของเกาหลีมีชื่อเสียงที่สุด
- Taewhakang.
แม่น้ำ Taewha จะพบหินสีเขียวมากที่สุด
- Yungkaang.
แม่น้ำ Yung เป็นอีกแห่งที่มีชื่อเสียง
- Zirisan.   
ภูเขา Ziri เป็นภูเขาที่สามารถพบ suseok ที่สวยงามได้อีกแห่งหนึ่ง
ช่วงระหว่างปี คศ. 592-628  จักรพรรดินีซูอิโกะของญี่ปุ่นได้รับเผินจิ่นและกองชิครั้งแรกจากจีน    รูปทรงที่แปลกมีรู, โพลงและผิวหน้าที่ขรุขระ ทำให้พวกขุนนางชั้นสูงเกิดความพิศวงสนใจมาตั้งแต่บัดนั้น  จวบจนปัจจุบันความนิยมก็ยังคงไม่เสื่อมคลายในญี่ปุ่นนับเป็นเวลาหลายร้อยปี 
ชนชั้นซามูไรเรืองอำนาจในญี่ปุ่นช่วงสมัยคามาคูรา (1183-1333)  และมีการค้าขายเกิดขึ้นระหว่างจีนและญี่ปุ่นช่วงนี้เองที่ศาสนาพุทธนิกายเซนได้เข้ามาเป็นที่ยอมรับของพวกซามูไร   ด้วยความเชื่อในนิกายเซนหินได้ถูกนำมาใช้ในการสอนในเรื่องความเคร่งครัด, เชาร์ปัญญาและการทำสมาธิ 
ในช่วงระหว่างสมัยมูรามาจิ (1338-1573)  พระเซนมีอิทธิพลต่อชนชั้นสูงในญี่ปุ่นอย่างมาก  พระเซนเหล่านั้นได้นำหินมาใช้ในการสอนโดยการใช้หินสื่อเพื่อกล่อมเกลาจิตใจ, การรับรู้จากภายใน และการรู้แจ้ง  
ต่อมาในช่วงมั่งคั่งรุ่งโรจน์ของบรรดาพ่อค้าสมัยเอโด (1603-1867) จำนวนผู้สนใจซุยเซอิมีจำนวนมากขึ้นและเริ่มมีการนำซุยเซอิมาประชันขันแข่งกันระหว่างชนชั้นสูงและพวกพ่อค้า    ในช่วงเวลานี้ญี่ปุ่นยังปิดประเทศจากโลกภายนอกเป็นช่วงแห่งความโดดเดี่ยวโดยมีพัฒนาการของศิลปะซุยเซอิเป็นของตนเองปราศจากอิทธิพลจากภายนอกประเทศ 
ในสมัยเมจิ (1868-1912) เป็นช่วงตกต่ำของชนชั้นสูงและพวกซามูไรพัฒนาการของศิลปะซุยเซอิหยุดชะงักลง  แต่มีการจัดประเภทซุยเซอิที่ยังคงใช้กันมาถึงทุกวันนี้   
หลังจากนั้นความสนใจซุยเซอิก็เริ่มเจริญงอกงามขึ้นและแผ่ขยายออกไปทั่วในศตวรรษที่ยี่สิบ  ศิลปะซุยเซอิได้แผ่ไปทั่วโลกโดยมีสมาคมซุยเซอิอยู่ทั่วโลก 
Subscribe to RSS Feed Follow me on Twitter!