วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555


ประการที่ 1 – รูปทรง
องค์ประกอบนี้จะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดที่จะดูว่าซุยเซอินั้นมีคุณภาพแค่ไหน  วิธีที่จะชื่นชมซุยเซอิก็คือการนั่งห่างซุยเซอิระยะหนึ่งแล้วเพ่งมองพิจารณาทุกส่วนโดยละเอียด   หินก้อนใดก็ตามที่ทำให้เรารู้สึกไม่เป็นธรรมชาติเมื่อเราเห็นจะถือว่าหินนั้นไม่มีคุณสมบัติที่จะเป็นซุยเซอิ  สำหรับวิธีที่จะพิจารณาว่าหินนั้นมีคุณสมบัติที่จะเป็นซุยเซอิหรือไม่ดีดังนี้:



  • สามหน้า (sanmen no ho)
    วิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุดที่จะพิจารณาซุยเซอิ  สามหน้า(sanmen) ก็คือด้านหน้า-หลัง, ซ้าย-ขวา และล่าง-บนของหิน   ขนาด, ความหนาและรูปทรงของทั้งสามหน้าต้องกลมกลืนกัน   สมดุลระหว่างหน้าของหินเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานในการตัดสินว่าหินนั้นเป็นซุยเซอิที่ดีหรือไม่   ยกตัวอย่างเช่น  หากหินก้อนหนึ่งเหมือนภูเขาในระยะไกล(toyama ishi)โดยหากมองด้านหน้าจะเห็นตีนเขา  หากเป็นซุยเซอิที่ดีแล้วหินนั้นก็ควรที่จะมีตีนเขาด้านหลังด้วย    ถ้าด้านขวาของภูเขายื่นออกมา  ทางด้านซ้ายก็ควรจะมีแนวที่ยื่นออกมาบ้างเล็กน้อย 




ฐานของหินเรียบยอดด้านบนก็ควรที่จะเรียวเป็นรูปตัวเอ  อย่างไรก็ตามนี่ก็เป็นเพียงทฤษฏีในทางปฏิบัติจริงๆ จะใช้วิธีนี้เป็นแนวทางพิจารณารูปทรงและความสอดคล้องกลมกลืนของลักษณะในแต่ละด้านของหิน  ความรู้สึกที่ไม่เป็นธรรมชาติ  ซุยเซอิเปรียบเหมือนภาพวาดธรรมชาติของญี่ปุ่น(Sanmen No Ho), ด้านหน้าของหินเป็นด้านที่สำคัญที่สุดเนื่องจากหินมักจะถูกจัดวางไว้ในช่องของผนัง (tokonoma) และเราจะนั่งหรือยืนอยู่ด้านหน้าของหินเพื่อดูซุยเซอิตรงช่องผนังนี้(tokokazari)  ญี่ปุ่นมีแนวคิดเกี่ยวกับต้นไม้หรือหินว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่พูดไม่ได้บางครั้งพวกเขาจะเรียกภูเขาหรือหินแบบเรียกคนธรรมดาเช่น คุณฟูจิ(Fuji-san) หรือ คุณคานนอน( Kannon-san)  นักสะสมหินผู้หนึ่งเคยกล่าวไว้ว่า "การจะหาบุคคลที่เลอเลิศนั้นยากยิ่ง  แต่การจะหาหินที่ยอดเยี่ยมนั้นยากยิ่งกว่า" 





เส้นของแนวสันเขาและความลาดเอียงควรจะดูนุ่มนวลกลมกลืนและสายตาของผู้ดูสามารถลื่นไหลไปได้เรื่อยๆ  ตีนเขาควรพุ่งเข้าหาผู้ดู  ด้านหลังภูเขาไม่ควรดูคล้ายรอยตัดหรือแตกและไม่ควรโค้งเข้าควรมีตีนเขาพุ่งออกไปด้วยแต่จะไม่เท่ากับด้านหน้า   ด้านซ้ายและขวาก็เช่นเดียวกับด้านหน้าและหลัง  ยอดเขาควรตั้งอยู่ที่ประมาณหนึ่งในสามจากด้านซ้ายหรือด้านขวาโดยใช้กฎสามส่วนเช่นเดียวกับเทคนิคการถ่ายภาพ   ด้านบนและล่างเมื่อมองจากด้านบนหินควรโค้งเล็กน้อยเข้าหาผู้ดูเหมือนกับเทคนิคของบอนไซ  ส่วนกลางของหินควรจะลึกกว่าด้านข้าง  หินควรมีด้านล่างที่เรียบเป็นธรรมชาติโดยไม่ตัด แต่ยอมให้ตัดส่วนที่ยื่นออกมาบางส่วนออกไปได้หากลำบากที่จะจัดลงในถาด(suiban) หรือแท่นไม้(daiza).





  • มวลและรูปทรง
    ความหนา: หินอาจจะบาง, เบาและสวยงาม  แต่บางก้อนอาจจะดูมีพลังและหนัก   หินควรมีฐานที่เรียบ   ถ้าเราวางหินในถาดเราจะเห็นได้ทันทีว่าตรงไหนต้องแก้ไข  หินเมื่อวางในถาดทุกๆส่วนของฐานต้องสัมผัสกับทราย 




ทรายแทนสระน้ำหรือทะเลและนิยมทรายสีครีม  ถาดไม่จำเป็นจะต้องบางมากๆแต่ขนาดและรูปทรงควรสัมพันธ์กันกับขนาดและรูปทรงของหิน

 


ประการที่ 2 – คุณภาพ (shitsu)
สำหรับการที่หินมีคุณภาพเหมาะที่จะเป็นซุยเซอิ  หินจะต้องแข็งแกร่งและแน่นพอที่จะไม่เปลี่ยนคุณภาพได้ง่ายๆและไม่แตกหักง่าย  มอสจะขึ้นบนหินที่เปราะซึ่งจะดูดซับน้ำไว้  หินภูเขาไฟแตกหักได้ง่ายจึงไม่เหมาะที่จะเป็นซุยเซอิ   







ซุยเซอิควรมีความแกร่งพอประมาณที่จะรักษารูปทรงของมันเอาไว้ได้  เมื่อรดน้ำไปบนหินมันจะสามารถคงความเปียกชื้นของน้ำเอาไว้ได้นาน  หินดังกล่าวรู้จักกันในโลกของซุยเซอิว่า  «mizumochi no ii ishi»  คุณลักษณะเหล่านี้จะพบได้ยากจากหินที่เก็บใหม่จากเทือกเขาหรือแม่น้ำ ซึ่งจะเรียกหินใหม่นี้ว่า “araishi”  ara มาจากคำว่า atarashii (ใหม่)  เพื่อปรับปรุงหินให้มีคุณสมบัติดังกล่าวเราจะนำหินมาตากไว้ในที่โล่งและลดน้ำเป็นระยะๆ  ในการเตรียมหินสำหรับการจัดวางในถาดมักจะจัดวางหินบนชั้นของบอนไซหรือในพื้นที่ๆมีแดดในสวนและรดน้ำทุกๆวัน (ในยุโรปนิยมใช้น้ำกลั่นเพื่อป้องกันคราบที่จะมากับน้ำ)  ตำแหน่งของหินควรเปลี่ยนเดือนละครั้ง  แต่สำหรับหินที่จะจัดวางบนแท่นไม้หินพวกนี้จะมีผิวที่งดงามอยู่แล้ว  ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีดังกล่าว  ในกรณีนี้หินจะรักษาไว้ในร่มและขัดถูด้วยผ้าฝ้ายแห้งประจำ   ขบวนการเหล่านี้เรียกว่า โยเซกิ(Yoseki)  ช่วงระยะการทำให้หินมีคุณภาพที่ดีขึ้นนี้นั้นเป็นส่วนที่สำคัญมากสำหรับซุยเซอิ 





 ภาพแสดงหินที่วางไว้บนชั้นไม้ขณะทำขบวนการ โยเซกิ เพื่อลอกผิวหน้าทำให้ลวดลายบนหินเห็นชัดเจน
ประการที่ 3 สี (iro)
สีจะต้องไม่ทำให้รู้สึกแปลกและไม่เป็นธรรมชาติ  สีของหินจะต้องสื่อให้จินตนาการรู้สึกได้ถึงทิวทัศน์ในธรรมชาติ  ในโลกของซุยเซอิความสง่างามและความสงบของจิตใจเป็นสิ่งสำคัญ  สีเข้มจะเป็นสีที่นิยม


หินสีดำจะให้ความรู้สึกถึงรสนิยมที่ละเอียดอ่อนและจะเป็นเงาแวววาวเมื่อถูกสัมผัสกับน้ำ  หินนี้จะถือว่าเป็นหินในอุดมคติ  หินสีดำจากคาโมกาวาถือว่าเป็นหินที่มีคุณสมบัติในเรื่องนี้   อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญหลายคนก็นิยมชมชอบหินคูรามาซึ่งมีสีน้ำตาลเข้มซึ่งคล้ายกับสีสนิมเหล็ก 



หินสีดำนี้ซึ่งเรียกว่า บอนเซกิ(bonseki) นักชงชามักจะใช้ในพิธี  “chanoyu”  ส่วนหินที่มีสีแปลกๆมักจะไม่ค่อยพบเห็นในญี่ปุ่น 

นอกจากนั้นสียังเป็นสัญญาลักษณ์ของฤดูกาล เช่น สีน้ำตาลเข้มสนิมเหล็ก Kurama-ishi แทนปลายฤดูร้อนหรือฤดูใบไม้ร่วงเมื่อใบของต้นเมเปิ้ลเปลี่ยนเป็นสีแดง  ยังมีหินสีแดงม่วงเข้มจากแม่น้ำคาโมที่เป็นที่นิยมของนักสะสมทั่วโลกซึ่งรู้จักกันในชื่อ kamogawa-beni-nagashi-ishi  ซึ่งสีแดงม่วงเข้มนี้เล่ากันว่าเป็นสีที่หญิงสาวในวังใช้แต่งหน้าในสมัยราชวงศ์ Heian 



ประการที่ 4 - เนื้อพื้นผิว (hada-ai)
หินในธรรมชาติจะถูกล้างโดยกระแสน้ำในแม่น้ำหรือทะเลสร้างให้เกิดเนื้อที่เป็นเอกลักษณ์ของพื้นผิวในโลกของซุยเซอิเรียกว่า  “hada-ai”   ความแข็งของหินก้อนเดียวกันจะมีความแข็งที่ไม่เท่ากันส่วนที่ทนการกัดกร่อนได้เรียกว่า “hame”  ส่วนที่อ่อนกว่าจะถูกกัดกร่อนโดยคลื่นลมและน้ำเรียกส่วนนี้ว่า “hadame” 



 
พื้นผิวไม่จำเป็นต้องเรียบ  มีหินที่พื้นผิวขรุขระ  มีคำเฉพาะที่ใช้เรียกลักษณะพื้นผิว  ตัวอย่างเช่น  “jagure” เป็นคำที่ใช้อธิบายถึงพื้นผิวที่ขรุขระและเป็นปุ่มยื่นออกมา  “Sudachi” หมายถึงพื้นผิวที่มีรูหลายรูขนาดประมาณ 1-2 mm   Rice grain (beiten-moyo) หมายถึงพื้นผิวที่มีปุ่มเล็กๆขนาดและรูปทรงเหมือนเมล็ดข้าวเปลือก ยื่นออกมา   “shun” หมายถึงพื้นผิวที่เป็นจีบซึ่งมักจะพบในหินฟูรูยา (Furuya stones)  และ  “shiwa” หมายถึงพื้นผิวที่เป็นจีบที่ละเอียดซับซ้อนเหมือนรอยย่น   พื้นผิวที่มีผลึกควอทบนหินทรายสีน้ำตาลสร้างเส้นในแนวนอนหรือแนวตั้งเรียกว่าเส้น “itokake” หรือ “itomaki”  Richi-hada หมายถึงจุดที่มีมากมายบนพื้นผิวเช่นเดียวกับผิวของลูกแพร์  ดวงตามังกร “ryugan” หมายถึงจุดของควอทหรือหินปูนบนหินมักจะพบในส่วนของหินน้ำตก 



ผิวหน้าของหิน
ในญี่ปุ่นมักมีคำกล่าวที่ว่ากระแสน้ำในแม่น้ำสร้างผิวหน้าของหินที่ดีที่สุด  หินดังกล่าวเรียกว่า “sawa ishi”   มีบางที่ริมชายหาดซึ่งจะพบหินที่ดีซึ่งเรียกว่า “kobi ishi”   Sawa- shi และ kobi ishi จะมีผิวที่เรียบกว่าและน่าสนใจกว่าหินที่พบตามภูเขา  ในญี่ปุ่นมีแหล่งตามภูเขาไม่มากนักที่จะพบหินคุณภาพดีๆ เช่น Furuya-ishi และ Seigaku-ishi  หินที่พบตามภูเขาเรียกว่า “yama ishi”  หินที่พบตามถ้ำเรียกว่า “do ishi”



ประการที่ 5 – อายุ (jidai)
คำนี้กล่าวถึงการรวมกันของธรรมชาติและพื้นผิว  ซึ่งผลของอายุจะปรากฏให้เห็นดังเช่น “yoseki”ที่กล่าวมาข้างต้น  


 
หินจะมีคุณสมบัติของรูปทรง, คุณภาพ และพื้นผิวสมบูรณ์เมื่อได้อายุ “jidai”  แต่สิ่งนี้ต้องการๆดูแลเอาใจใส่ที่จะสร้างคุณภาพของหินออกมา   มีการพูดกันว่ามันจะกินเวลาอย่างน้อย 10 ปีในการที่จะทำให้คุณภาพที่แท้จริงของซุยเซอิปรากฏออกมาจากหินก่อนใหม่    จริงๆแล้วขึ้นกับลักษณะของหิน  ซึ่งบางกรณีอาจกินเวลาถึง 20 ปีที่จะทำให้เห็นอายุและสีดั้งเดิมของหิน   “jidai” หรือสีเดิมของหิน “ko-shoku”    มีคำพูดๆไว้ว่า: ยิ่งหินแข็งมากเท่าใดระยะเวลาที่จะสร้างคุณภาพให้แก่หินก็ยาวนานยิ่งขึ้นเท่านั้น    To be resumed. หินใหม่ที่มีรูปทรง, คุณภาพ, สี และพื้นผิวที่ดียังไม่เรียกว่า ซุยเซอิ แต่เรียกว่า หินใหม่ “araishi”    เมื่อเราเอาหินเก่าวางในถาดมันจะให้ความรู้สึกถึงอายุของหินที่เราจะไม่เห็นสิ่งนี้จากหินใหม่ 




ความเพลิดเพลินกับซุยเซอิ
ซุยเซอิไม่มีอะไรนอกจากหินชิ้นหนึ่งเท่านั้นสำหรับคนทั่วไป  เราไม่สามารถคาดหวังความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับทุกคนอย่างฉับพลันที่จะสัมผัสได้ถึงความเคลื่อนไหวจากหินและสามารถปล่อยให้วิญญาณล่องลอยอยู่ในโลกของซุยเซอิได้  อย่างไรก็ตามความสนใจซุยเซอิจะเกิดขึ้นกับเราได้หากมีบางสิ่งบางอย่างในซุยเซอิดึงดูดเราเมื่อเราเห็นมัน    นั่นมันเป็นจุดเริ่มต้นที่เพียงพอสำหรับการเริ่มพัฒนาความสนใจในซุยเซอิได้  ความสนใจในซุยเซอิเกี่ยวข้องกับการพัฒนาจิตวิญญาณในด้านสัมผัสของธรรมชาติของแต่ละคน   




เมื่อใครก็ตามที่ดูซุยเซอิแล้วสามารถบอกได้ว่าคนเราคิดถึงอะไรและเขาได้เข้าไปสู่โลกของอะไร  เราสามารถรู้สึกได้ถึงสิ่งกระตุ้น  ไม่ใช่กล่าวถึงความงามที่มองเห็นหรือไม่สามารถรับรู้ได้  คนที่มีรสนิยมเหมือนๆกันจะรู้สึกพอใจและเข้าไปมีอารมณ์ร่วมในการดูsuiseki kazari  นี่คือเหตุผลว่าทำไมถึงมีการพูดว่าการสนใจต่อซุยเซอิทำให้วิญญาณของคนเราได้เพิ่มการพักผ่อนอย่างลึกล้ำ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Subscribe to RSS Feed Follow me on Twitter!