วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555


การสะสมหินเป็นงานอดิเรก

การเก็บสะสมหินเพื่อไว้ชื่นชมของมนุษย์เรานั้นมีมาช้านานแล้ว  ถึงแม้ว่าหินได้ถูกเรียกชื่อต่างๆและมีกฎเกณฑ์ต่างแตกต่างกันออกไปตามวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ  ที่ญี่ปุ่นหินที่เก็บสะสมไว้ชื่นชมจะเรียกว่า ซุยเซอิ ในประเทศจีนเรียกว่า กองชิ ในประเทศเกาหลีเรียกว่า “suseok” ไม่ว่าจะหินเหล่านี้จะมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปอย่างไรหรือจะเรียกชื่อที่แตกต่างกันอย่างไร แต่ต่างก็ยังคงอยู่ในกลุ่มของประเภทหินสะสม “viewing stone” 

งานอดิเรกการสะสมหินจะสะท้อนถึงความรู้สึกนึกคิดและรสนิยมของผู้นั้น  คนที่สะสมและชื่นชม viewing stones จะเป็นคนที่นิยมชมชอบเผินจิ่งหรือบอนไซเป็นทุนอยู่แล้ว งานอดิเรกทั้งสองนี้มักจะเป็นสิ่งคู่กันเสมอ  หากเราชื่นชอบเผินจิ่งเราก็มักจะชื่นชอบกองชิที่ให้ความรู้สึกยิ่งใหญ่อลังการและแปลกตระการตา  แต่หากเราชื่นชอบบอนไซเราก็มักจะชื่นชอบซุยเซอิที่ให้ความรู้สึกสงบแต่ดูมีพลังลึกลับซ้อนเร้นอยู่ 


หิน viewing stones ให้อะไรกับเรา

เมื่อเริ่มสะสมเรามักจะมุ่งไปที่หินก้อนใหญ่สวยงาม  มีสีสัน  รูปทรงที่เร้าใจไม่สนใจว่าจะโดยธรรมชาติหรือมนุษย์แต่งเติมขึ้น   แต่เมื่อเรียนรู้มาถึงจุดๆหนึ่งเราจะเริ่มพัฒนาความรู้สึกไปสู่ธรรมชาติสู่ความเรียบง่าย, สงบและสมถะ   หินเป็นงานศิลปะที่สร้างโดยธรรมชาติ  ซึ่งมีทั้งรูปทรง, ความสมดุล, สีสันและลวดลายของผิว  ความงดงามของหินถูกกำหนดโดยคนเราจากพลังที่เร้นลับที่สามารถนำจิตใจของเราเข้าสู่จินตนาการของทัศนียภาพจากประสบการณ์ต่างๆที่เคยพบเห็นมา เช่นภาพเทือกเขา, น้ำตก, เกาะ, สัตว์หรือกระท่อม 


 พลังนี้นำเราให้ย้อนกลับไปสู่ภาพเก่าๆในประสบการณ์ชีวิตของเรา   หินแต่ละก้อนไม่ใช่แค่บอกเล่าเรื่องราวของมันเองเท่านั้นมันยังกระตุ้นจินตนาการที่มีอยู่ในจิตใจของผู้ดูอีกด้วยเป็นจินตนาการที่ไม่รู้จบ  แต่ละครั้งที่เรามองหินก้อนเดิมที่เราเคยมองจินตนาการความรู้สึกของเราที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งจะไม่ซ้ำกันเลย     แต่หินที่ดีที่สามารถกระตุ้นจินตนาการของเราได้นั้นหายากมากแต่หากเราได้มันมาเป็นเจ้าของสักก้อนมันจะให้ความรู้สึกอิ่มเอิบใจแก่ผู้ที่ได้เป็นเจ้าของ  คนที่ชื่นชอบการสะสมหินนั้นมักจะเป็นคนที่นิยมใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติไม่ว่าจะทำสวน, ปีนเขา, ตกปลา ฯ   

เมื่อถึงจุดๆหนึ่งหินจะกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเราในทุกๆเช้าเมื่อเราตื่นขึ้นมาหรือทุกเมื่อมีเวลาว่างเราได้ดูพินิจวิเคราะห์หินเหล่านี้เหมือนได้เติมพลังในชีวิตเพิ่มขึ้น  จิตใจเราจะสงบขึ้นมาทันทีเข้าสู่ภวังค์อันเร้นลับ  จิตใจเราจะสงบเพลิดเพลิน และมีสมาธิในขณะนั้น  หินมีพลังในการสร้างจินตนาการที่ไม่รู้จบ  เราจะมองมันได้ไม่รู้เบื่อ


หินอย่างไรจึงจะเรียกว่า ซุยเซอิ

ซุยเซอิก็คือการเรียนรู้และเพลิดเพลินกับความงามในรูปทรงต่างๆของหินตามธรรมชาติ  ซุยเซอิเป็นรูปแบบศิลปะที่ละเอียดอ่อนซับซ้อนที่สืบต่อกันมาช้านานของญี่ปุ่น  ซึ่งรวมถึงความรู้สึก, จินตนาการและความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างวัตถุและผู้ดู  ซุยเซอิเป็นหินที่สื่อถึงเทือกเขา, ทะเลสาบ, น้ำตก และทิวทัศน์ธรรมชาติอื่นๆ   ซุยเซอิแทนธรรมชาติให้มาอยู่ในอุ้งมือของเรา  ซุยเซอิเป็นความเช้าใจและชื่นชมธรรมชาติผ่านทางหินไม่ว่าเราจะได้หินซุยเซอิมาอย่างไร จะเก็บมาหรือซื้อมาก็ตามเราต้องพยายามคงสภาพตามธรรมชาติเดิมของมันไว้  ตั้งแต่ขบวนการขัดผิวด้วยขบวนการโยเซกิ  ฐานรองหินที่เรียกว่าไดซาทำมาจากไม้เนื้อแข็ง  ตลอดจนถึงการจัดโชว์ตามแบบฉบับที่ควรจะเป็นของมัน 

หินสะสมส่วนหนึ่งของนักสะสมชาวเวียดนาม
 ในสมัยก่อนหินที่เรียกได้ว่าเป็นหิน ซุยเซอิ จะเป็นหินเฉพาะที่ถือกำเนิดในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น  แต่ในปัจจุบันมีการค้นพบหินมากมายจากทั่วโลกที่ไม่อาจแยกแยะได้จากหินที่ถือกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น  ทำให้นักสะสมหินชั้นนำทั่วโลกยอมรับหินที่ถือกำเนิดมาจากทุกแหล่ง ที่เข้าหลักเกณฑ์ที่กำหนดกันมาช้านานของญี่ปุ่น  ตั้งแต่รูปทรง, ขบวนการขัดผิวด้วยขบวนการโยเซกิ, มีฐานรองหินที่เรียกว่าไดซาทำมาจากไม้เนื้อแข็ง  ตลอดจนถึงการจัดโชว์ตามแบบฉบับว่าเป็น ซุยเซอิ  และที่สำคัญที่สุดของคุณสมบัติของซุยเซอิก็คือการให้ความรู้สึกที่ดูเรียบง่ายแต่มีพลังเร้นลับที่กระตุ้นจินตนาการของเราได้ไม่รู้จบ  เมื่อเราศึกษาไปถึงจุดๆหนึ่งที่ความคิดตกผลึกเราจะเห็นความแตกต่างระหว่างรูปแบบของหินที่เรียกว่า ซุยเซอิ ของญี่ปุ่นกับหินสะสมในรูปแบบอื่นๆของประเทศต่างๆที่นอกเหนือจากญี่ปุ่น เช่น จีน, เกาหลี, เวียดนาม, มาเลเซีย ฯ  


หินสะสมของมาเลเซียที่เข้าประกวดในงานประกวดหินของมาเลเซียปี  2012

การเลือกซื้อหิน

ก่อนที่เราคิดจะเลือกซื้อหินสักก้อนหนึ่งในฐานะนักสะสมไม่ใช่ฐานะนักท่องเที่ยวที่ซื้อมาแค่ของที่ระลึกหรือเพื่อใช้ตกแต่งบ้านตกแต่งบ้านเท่านั้น  สิ่งแรกที่ต้องทำคือการศึกษาเรียนรู้คุณสมบัติต่างๆของหิน viewing stone โดยละเอียด  มิฉะนั้นแล้วเราจะโดนหลอกจากผู้ขายได้โดยง่าย 
ปัจจุบันหินของจีนซึ่งนับว่าเป็นแหล่งหินที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีการซื้อขายกันเป็นเงินหลายพันล้านบาทในแต่ละปี  สิ่งนี้ดึงดูดให้มีธุรกิจการนำก้อนหินธรรมดามาตัดแต่งเจาะรูให้ดูมีรูปทรงเหมือนหินที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติกันอย่างมากมาย  มีการประมาณกันว่ากว่าร้อยละ 80 ของหินที่ซื้อขายกันในจีนสร้างมาจากฝีมือมนุษย์  แม้แต่ที่ประเทศญี่ปุ่นเองก็ยังมีหินที่ตัดแต่งขัดเจียรและพ่นทรายสร้างเลียนแบบหินจากธรรมชาติเพื่อการค้าโดยเฉพาะหิน Hut stone ที่เป็นที่นิยมของนักสะสม (ดูรายละเอียด หินเลียนแบบหินจากธรรมชาติ การสะสมหินซุยเซอิ ตอนที่ 19/20)  
หินเกรดพรีเมี่ยมเป็นที่ต้องการของนักสะสมและนักลงทุนอย่างมาก  บางก้อนมีราคาสูงกว่าทองคำที่น้ำหนักเท่าๆกัน  มูลค่าของหินประเภทนี้พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน  เนื่องจากการมีอย่างจำกัดและไม่สามารถที่จะหามาทดแทนได้ใหม่    




วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555


การสะสมหิน

การสะสมหินเป็นงานอดิเรกของคนเราไม่ใช่มีเฉพาะการสะสมหินซุยเซอิเท่านั้น  แต่ยังมีหินประเภทอื่นๆอีกที่เป็นที่นิยมของนักสะสมขึ้นอยู่กับรสนิยมความรักนิยมชมชอบของผู้นั้น  ฉะนั้นก่อนที่เราจะเริ่มศึกษาทำความเข้าใจหินซุยเซอิเราควรต้องเรียนรู้การจัดแบ่งประเภทของหินสะสมเสียก่อนเพื่อให้เห็นภาพรวมกว้างๆทั้งหมด  โดยทั่วไปการจัดแบ่งประเภทของหินสะสมนิยมใช้การจัดแบ่งตามแบบฉบับของญี่ปุ่นซึ่งแบ่งออกไว้ได้ดังนี้:


  Kobutsu-hyohon (Miniral specimens)  ตัวอย่างหินแร่ธาติต่างๆไม่จำเป็นต้องมีรูปทรง




  Zokei-seki  เป็นงานศิลปะที่สร้างโดยฝีมือมนุษย์โดยทำมาจากหิน



  Kansho-seki (viewing stones)เป็นการสะสมหินที่พิจารณาถึงรูปทรง,ลวดลายและผิวของหินเป็นหลัก  โดยจัดแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

1. Suiseki  เป็นการสะสมหินที่สื่อถึงทิวทัศน์โดยเฉพาะเทือกเขาและแอ่งน้ำ  ซึ่งรวมถึงหินที่สื่อถึงภาพสิ่งมีชีวิตหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมา  หินจะต้องไม่มีการตัดแต่ง  มีฐานหินที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  อาจมีการตัดแต่งฐานบ้างแต่จะทำให้คุณค่าและราคาของหินลดลงกว่า70% จากที่มันควรจะเป็น  การขัดผิวให้มันเงาด้วยกรรมวิธี yoseki ไม่มีการทาด้วยน้ำมันใดๆทั้งสิ้น  ขนาดที่ถือว่าเป็นขนาดในอุดมคติควรมีขนาดเล็กพอที่จะถือเอาไว้ได้ด้วยมือเดียว  หินทุกก้อนจะมีฐานทำจากไม้เนื้อแข็งเรียกว่า “Daiza”






 2.  Chinseki (Rare stone)  เป็นหินที่หายากจำพวก pattern stone, texture stone และ figure stones  หิน Gongshi ของจีนก็ถูกจัดอยู่ในประเภทนี้   chinseki  จะไม่มีกฏเกณฑ์มาตรฐานตายตัว  





3. Biseki  เป็นหินที่มีการตกแต่งโดยฝีมือมนุษย์  แต่ยังคงรูปทรงตามแบบธรรมชาติอยู่




Ø      Niwa-ishi (Garden stone) หินที่ใช้ในการจัดสวนโดยทั่วไปจะมีขนาดใหญ่



Ø      Bonseki, Bonkei  เป็นศิลปะอีกประเภทหนึ่งที่ถือกำเนิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น  เป็นศิลปะการจัดหินในถาดโดยการใช้กรวดและทรายมาจัดวางผสมผสานกับหินทำให้เกิดภาพทิวทัศน์เสมือนจริง 









วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555



หินซุยเซอิ  ตอนที่ 4/20 - การสะสม


การจัดประเภทซุยเซอิตามรูปทรง


หินซุยเซอิสามารถจัดแบ่งประเภทตามรูปทรงออกได้เป็น 2 ประเภทได้แก่ ประเภทที่มีรูปทรงเหมือนทัศนียภาพของภูมิทัศน์  และประเภทที่มีรูปทรงคล้ายสิ่งที่มีชีวิตหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น  โดยมีรายละเอียดของแต่ละประเภทดังนี้:


ประเภทที่ 1 เป็นหินที่มีรูปทรงเหมือนทัศนียภาพของภูมิทัศน์  (Sansui keijo-seki)  

หินประเภทนี้จะสื่อถึงภาพของภูมิทัศน์ธรรมชาติซึ่งเราสามารถเห็นได้ทั่วไปในธรรมชาติ  โดยแบ่งย่อยออกได้ดังนี้:
  • Yamagata-ishi หินรูปทรงเหมือนภูเขา อาจเป็นภูเขาเพียงลูกเดียวหรือหลายๆลูกก็ได้  โดยปรกติจะแบ่งย่อยออกเป็นหินที่สื่อถึงภูเขาที่เห็นในระยะใกล้กับหินที่สื่อถึงภูเขาที่เห็นในระยะไกล  แต่ก็อาจจะระบุชื่อโดยใช้จำนวนของยอดเขาก็ได้ดังนี้:


    • Toyama-ishi/Enzan-seki  หินที่สื่อถึงภูเขาที่เห็นในระยะไกล


    • Kinzan-seki  หินที่สื่อให้เห็นถึงภูเขาในระยะใกล้ 




    • นอกจาก Toyama-ishi และ Kinzan-seki แล้ว ยังอาจระบุรายละเอียดของหินได้ตามลักษณะจำนวนของยอดเขาดังนี้:
Ø      Koho-seki  เป็นเทือกเขาที่มียอดเพียงยอดเดียว
Ø      Soho-seki  เป็นหินที่แสดงภาพของภูเขาที่มีสองยอด 
Ø      Sampo-seki  เป็นหินที่แสดงภาพของภูเขาที่มีสามยอด
Ø      Seigaku-seki
Ø      Rempo-seki  หินที่แสดงภาพของสันเขาเป็นแนวยาวไม่เป็นยอด
Ø      Sekkei-ishi   หินที่สื่อถึงภูเขาที่ปกคลุมด้วยหิมะ  โดยมีแร่ธาตุสีอ่อนๆแทนหิมะบริเวณยอดหรือด้านข้าง  


  • Taki-ishi   หินนี้เป็นหินที่สื่อถึงภูเขาที่มีน้ำตกอาจจะหนึ่งแห่งหรือมากกว่านั้น  โดยน้ำตกจะแทนด้วยสายแร่ธาตุสีขาวใกล้บริเวณยอดของหินและไหลย้อยตกลงมาด้านล่างด้านหน้า  ถ้าหินมีน้ำตกปรากฏขึ้นทั้งสองด้านของหินจะไม่ถือว่าเป็นลักษณะที่ดีของหินประเภทนี้  หินประเภทนี้แบ่งออกย่อยได้ดังนี้:
    • Itodaki-ishi   หินที่แสดงภาพของภูเขาที่มีน้ำตกๆลงมาเป็นเส้น  โดยจะเห็นจากเส้นเล็กๆของผลึกคว๊อทไหลตกลงมาด้านล่าง 


    • Nudodaki-ishi  หินที่แสดงภาพของภูเขาที่มีน้ำตกไหลตกลงมาเป็นแถบ  โดยจะเห็นจากสีจางๆของแร่ธาตุที่ไหลตกลงมาด้านล่างด้านหน้าของหิน





    • Karedaki-ishi  หินที่สื่อถึงภูเขาที่มีน้ำตกแต่น้ำตกนั้นได้เหือดแห้งไปแล้ว  โดยจะเห็นจากแนวร่องลึกลงไปในเนื้อหินไหลตกลงมาด้านล่าง


    • Yamagata-taki-ishi  หินที่สื่อถึงภูเขาที่มีน้ำตกอาจจะมีน้ำตกเพียงสายเดียวหรือหลายสายปรากฏด้านหน้าของหิน  จะเห็นว่ามีการใช้คำว่าภูเขา”(yamagata) และ น้ำตก” (taki) มาต่อกันเป็นชื่อที่ใช้เรียกหินประเภทนี้



    • Keiryu-seki  หินที่สื่อถึงเทือกเขาที่มีลำธาร  ลำธารจะไหลผ่านหุบเขา  โดยปรกติสายน้ำจะแทนด้วยผลึกคว๊อทสีขาวซึ่งเปรียบเสมือนฟองที่สาดกระเซ็นของน้ำในลำธาร  รูปแบบที่ดีลำธารควรไหลเป็นเส้นทแยงมุมคาดผ่านหิน  แทนที่จะไหลจากด้านหน้าไปด้านหลัง  




  • Dan-seki/Dan-ishi  หินที่สื่อถึงที่ราบเชิงเขาหรือหินเป็นขั้นๆขึ้นไปบนหน้าผา  หินคลาสสิกจะมีอย่างน้อยสามขั้นความยาวที่ต่างๆกัน  ขึ้นที่เกิดขึ้นควรตั้งดิ่งหรือเกือบจะตั้งดิ่ง  


·         Shimagata-ishi  หินที่สื่อถึงเกาะ  เป็นลักษณะของเกาะที่โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ, มีความสูงไม่มาก, แสดงให้เห็นถึงส่วนโค้งเว้าของตามแนวที่สัมผัสกับน้ำ ปรกติจะจัดไว้ในถาดบางพร้อมทรายหรือน้ำ  ซึ่งทรายหรือน้ำนี้จะช่วยสื่อให้เห็นถึงเกาะได้ดีขึ้น  



  • Doha-seki/Doha-ishi  หินที่สื่อถึงพื้นเอียงลาด  เป็นลักษณะของพื้นที่ราบหรือค่อยๆเอียงพุ่งไปยังเนินเขา  

  • Isogata-ishi  หินที่แสดงภาพของโขดหินตามชายฝั่งทะเล  ปรกติจะไม่หนามาก แบ่งออกย่อยได้ 2 ประเภท:
    • Araiso/Araiso-ishi  หินสื่อถึงแนวหินโสโครก  ที่ขรุขระ  

    • Hirasu/Hirasu-ishi  หินที่แสดงถึงสันดอนทราย  สื่อถึงชายหายอันสงบเงียบ  


  • Misaki-ishi  หินที่สื่อถึงแหลม  แผ่นดินที่ยื่นเข้าไปในผืนน้ำ

  • Mizutamari-ishi   หินที่สื่อถึงสระน้ำหรือแอ่งน้ำที่อยู่ตามเทือกเขา  หินที่มีรูพรุนที่เก็บน้ำไว้ไม่ได้จะไม่มีค่าเท่ากับหินที่สามารถเก็บน้ำไว้ได้  หินประเภทนี้ที่ถือว่ามีค่าและหายากจะเป็นหินที่สื่อให้เห็นถึงสระน้ำหรือแอ่งน้ำที่ล้อมรอบด้วยภูเขาที่มีลักษณะที่สวยงดงาม  




  • Tamari-ishi  หินที่สื่อให้เห็นถึงสระน้ำหรือทะเลสาบ  หินประเภทนี้จะคล้ายกันกับหินสระน้ำแต่จะสื่อให้เห็นถึงสระน้ำหรือทะเลสาบที่ลึกกว่า  



  • Mitzutame-ishi   เป็นหินที่แสดงให้เห็นแอ่งเก็บน้ำตื้นๆ  คล้ายกับ    แต่จะตื้นกว่ามาก  



  • Iwagata-ishi  หินที่สื่อถึงหน้าผาสูงชันริมชายฝั่งทะเล  หินประเภทนี้จะเพิ่มค่ามากยิ่งขึ้นหากมีแร่คว๊อทที่ฐาน  แร่คว๊อทสีขาวเปรียบได้กับฟองของคลื่นที่ซัดเข้ากระทบหน้าผา





  • Dokutsu-ishi  หินที่สื่อถึงภาพของถ้ำ  ลักษณะเป็นโพรงลึกเข้าไปจะมองไม่เห็นก้นของถ้ำ  ลักษณะที่ดีโพรงนั้นจะต้องเป็นโพรงลึกหักโค้งจากซ้ายไปขวา  
  • Yadori-ishi  หินที่สื่อถึงเพิงที่กำบังโค้งยื่นออกมาไม่มากนัก  และพื้นด้านบนของเพิงกำบังสามารถเห็นได้เด่นชัด




  • Amayadori-ishi  หินที่สื่อถึงเพิงกำบังคล้ายกับ Yadori-ishi แตกต่างกันก็ตรงที่ Amayadori-ishi นั้นสื่อถึงเพิงกำบังที่ยื่นออกมายาวมากพอที่สามารถกันฝนได้


  • Domon-ishi  หินที่สื่อถึงถ้ำหรือโค้งธรรมชาติ  หินจะมีรูอาจจะรูเดียวหรือหลายรูที่ทะลุผ่านจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง  และจะถือว่าสวยงามหากรูนั้นหักเหไปด้านซ้ายหรือขวาแทนที่จะพุ่งไปตรงๆ  





ประเภทที่ 2 เป็นหินที่มีรูปทรงเหมือนสิ่งที่มีชีวิตหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น (Keisho-seki)
  • Yagata-ishi  หินที่สื่อให้เห็นถึงบ้านพักอาศัยตามชนบทแบบต่างๆของญี่ปุ่น
    • Kuzuya-ishi  หินที่มีรูปทรงคล้ายกระท่อมหลังคามุงจาก  สื่อถึงภาพของกระท่อมในชนบทของญี่ปุ่นที่มีหลังคารูปทรงกลมหรือแหลมเป็นกรวย  จะมีค่ามากยิ่งขึ้นหากหินนั้นเหมือนมีเสาขึ้นมาค้ำยันหลังคาไว้  




  • Funagata-ishi  หินที่สื่อถึงภาพของเรือชนิดต่างๆ เรือที่สร้างด้วยไม้, เรือพาย ฯ 




  • Hashi-ishi  หินที่สื่อถึงภาพของสะพานไม่ว่าจะเป็นสะพานที่สร้างด้วยหินหรือไม้  

  • Dobutsu-seki  หินที่สื่อถึงภาพของสัตว์      


  • Torigata-ishi  หินที่มีรูปร่างคล้ายนก  สื่อถึงภาพของนกทั้งนกจริงในธรรมชาติและนกในเทพนิยาย 
  • Mushigata-ishi  หินที่มีรูปร่างคล้ายแมลง  สื่อถึงภาพของแมลงโดยเฉพาะผีเสื้อ, แมลงปอ, จิ้งหรีด, ตั๊กแตน ฯ
  • Uogata-ishi  หินที่มีรูปร่างคล้ายปลา  สื่อให้เห็นภาพของปลาโดยเฉพาะปลาคราฟและปลาทอง 

  • Sugata-ishi/Jimbutsu-seki  หินที่มีรูปทรงคล้ายมนุษย์  สื่อถึงภาพของคนโดยเฉพาะชาวประมง, ชาวนา, หญิงสาว, พระ ฯ  รวมถึงหินที่สื่อถึงส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายคนเรา  


  • Sankeishi-seki  หินที่มีรูปทรงคล้ายวัตถุหรือสิ่งมีชีวิตได้สามอย่าง  โดยสามารถสื่อถึงภาพของวัตถุหรือสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันได้สามอย่างเมื่อมองในมุมที่แตกต่างกัน  




Subscribe to RSS Feed Follow me on Twitter!